|
มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบคาบสมุทรอาหรับ ทางตอนใต้และตะวันตกของคาบสมุทรอาหรับ ลำต้นสูงใหญ่ ส่วนใหญ่ใบมักมีขนละเอียดนุ่ม ดอกมักมีสีชมพูและมีขนาดเล็ก ออกดอกตามกิ่งก้านหรือลำต้น ฝักมักมีสีแดงเข้ม ฝักและเมล็ดมักมีขนาดใหญ่ ชวนชมชนิดนี้สามารถแบ่งลักษณะลำต้นออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้
- ลำต้นสูงแบบไม้ยืนต้น จะมีลำต้นที่สูงชะลูด ลำต้นจะแตกออกจากฐานโขดหลายลำ ลำต้นชี้ขึ้นตรงมักเจริญติบโต
ในแนวสูงมากกว่าการขยายในแนวราบ อาจสูงได้ถึง 4 เมตร ที่พบเห็นในประเทศไทยเช่น ยักษ์หน้าวัง เป็นต้น
- ลำต้นเตี้ย ลำต้นจะขึ้นเป็นแท่งหลายแท่งจากฐานโขด มักเจริญเติบโตในแนวราบ มากกว่าแนวสูง
ฐานโขดมักมีขนาดใหญ่ โขดอาจมีขนาดใหญ่ถึง 1 เมตร สูงประมาณ 2.50 เมตร ที่พบเห็นในประเทศไทย เช่น
ยักษ์เยเมน เป็นต้น
ชวนชมชนิดนี้ส่วนใหญ่ทะยอยนำเข้ามาในประเทศไทย ทั้งเมล็ด กิ่ง และต้น จากผู้ที่เคยทำงานในตะวันออกกลางตลอดระยะเวลาประมาณ 20 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งได้มาจากหลายแหล่ง หลายสายพันธุ์ ชวนชมชนิดนี้มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่าชวนชมพื้นเมืองทั่วไป เพราะโขดมีขนาดใหญ่กว่ามาก ในบ้านเรานั้นมักเรียกชื่อสายพันธุ์ตามแหล่งที่นำไปเพาะเลี้ยง เช่น ยักษ์ลพบุรี ยักษ์สิงห์บุรี เพชรเมืองคง(โคราช) เป็นต้น ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็มีความแตกต่างกันไป ปัจจุบันมีการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ไปมาก ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดรุ่นใหม่ในประเทศไทยมีเอกลักษณ์แตกต่างจากสายพันธุ์ดั้งเดิมมาก
เรามีเมล็ด ต้นกล้า ลูกไม้เพาะเมล็ด ไม้เสียบยอด สายพันธุ์ยักษ์อาหรับ (Arabicum) นานาชนิดให้ท่านเลือกสรร
ยักษ์อาหรับ (Arabicum) ในประเทศไทย สามารถจำแนกได้ ดังต่อไปนี้
|
1) ยักษ์เยเมน - Arabicum : Yamen (YM)
1.1) ต้นแม่เป็นไม้เพาะเมล็ด นำเข้าจากประเทศเยเมน
1.2) ลักษณะยักษ์เยเมน
- มีลำต้นและกิ่งก้านที่แข็งแรง มีข้อตามลำต้นค่อนข้างถี่
- มีใบใหญ่ ใบมนกลม สีเขียวเข้ม ใบมันไม่มีขน
- ดอกดก ออกดอกเป็นพวง ดอกมีขนาดเล็ก สีชมพูอ่อน
- มีโขดขนาดใหญ่ ลำต้นขึ้นเป็นแท่งหลายแท่ง มักขยายออกด้านข้าง
มากกว่าแนวสูง
- ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดใบไม่ด่าง แต่มีลักษณะที่ดี
โตเร็วและแข็งแรง
- ต้นที่เคยพบเห็น โขดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 80 เซนติเมตร
สูงประมาณ 2.50 เมตร
- ฝักป้อม เมล็ดป้อม เมล็ดมีขนาดใหญ่
- ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ด มีความนิ่งของสายพันธุ์สูง
|
|
2) ยักษ์เกษตร - Arabicum : Ka-Set (KS)
2.1) ต้นแม่เป็นไม้นำเข้ามาจากประเทศซุอุดิอาราเบีย
โดยการนำกิ่งพันธุ์มาปักชำและเพาะเลี้ยงในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
ใกล้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ปัจจุบันต้นแม่อยู่ที่
อุทยานหินล้านปีจังหวัดชลบุรี
2.2) ลักษณะยักษ์เกษตร
- ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด กิ่งตอนหรือกิ่งปักชำ
โขดจะเจริญเติบโตได้ไว ขยายฐานโขดได้ดีทั้งสิ้น
- ลำต้นขึ้นเป็นแท่งหลายแท่ง มักขยายออกด้านข้างมากกว่าแนวสูง
สูงประมาณ 2-3 เมตร
- ใบกลม นุ่ม มีขนทั้งหน้าใบและหลังใบ
- ออกดอกตามลำต้นและกิ่งก้าน ออกดอกตลอดทั้งปี และดกมากใน
ช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน
- ตามธรรมชาติติดฝักค่อนข้างยาก ฝักอ้วน เมล็ดสั้นป้อม ฝักหนึ่งคู่
มีเมล็ดประมาณ 50-60 เมล็ด
- เป็นไม้ขนาดใหญ่ ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีความนิ่ง
ของสายพันธุ์สูง
|
|
3) ยักษ์สิงห์บุรี - Arabicum : Sing-Bu-Ri (SBR) / เพชรเมืองคง -
Arabicum : Pet-Muang-Kong (PMK)
3.1) ต้นแม่ปลูกที่จังหวัดสูงห์บุรี เรียกยักษ์สิงห์บุรี
เมื่อนำไปปลูกที่อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา เรียกว่าเพชรเมืองคง
3.2) ลักษณะยักษ์สิงห์บุรี
- กิ่งตอนหรือกิ่งปักชำ ขึ้นลำต้นได้สวย มีลำต้นสูง
มักเจริญเติบโตในแนวสูงมากกว่าการขยายในด้านข้าง
สูงประมาณ 3-5 เมตร
- ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด โขดกลมสวย แตกกิ่งจากโขดมาก
มีสีผิวเนียนเขียว มีลักษณะที่ดี
มีลำต้นสูง ขยายด้านข้างน้อย และมักเจริญเติบโตในแนวสูง
- มีดอกดก ดอกออกเป็นพวง ดอกมีขนาดเล็ก สีชมพูอ่อน
- ใบมีสีเขียวตองอ่อน นุ่ม ขนน้อย ใบรี ปลายใบแหลม
- ให้ฝักดก ฝักยาว เมล็ดยาว
- เป็นไม้ขนาดใหญ่ ลูกไม้ที่ได้จากเพาะเมล็ดมีทั้งใบมันและใบขน
|
|
4) ยักษ์ลพบุรี - Arabicum : Lop-Bu-Ri (LBR)
4.1) ต้นแม่เป็นไม้เพาะเมล็ด นำเข้ามาจากประเทศซาอุดิอาราเบีย
ขณะที่ต้นยังเล็ก ๆ และนำไปปลูกที่จังหวัดลพบุรี
4.2) ลักษณะของยักษ์ลพบุรี
- มีลำต้นและกิ่งก้านที่แข็งแรง มีปมปุ่มตามลำต้นและมีลายข้อที่ชัดเจน
- ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด กิ่งตอนหรือกิ่งปักชำ โขดโตเร็วมีขนาดใหญ่
ลำต้นขึ้นเป็นลำใหญ่ การเจริญเติบโตขยายทั้งด้านข้างและด้านสูง
สูงประมาณ 1.5-2 เมตร
- ใบพาย ใบยาวรี ปลายใบมนไม่แหลม ใบนุ่ม
ใบมีขนมากทั้งหน้าใบและหลังใบ
- ดอกมีขนาดเล็ก สีชมพูอ่อน ให้ดอกพอประมาณ
- ให้ฝักพอประมาณ ฝักและเมล็ดมีขนาดกลาง ๆ
- เป็นไม้ขนาดกลาง ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีลักษณะที่ดี
และสวยเกิน 80%
|
|
5) เพชรหน้าวัง - Arabicum : Pet-Na-Wang (PNW)
5.1) มีผู้กล่าวขานกันว่า ต้นแม่เพชรหน้าวังปลูกอยู่หน้าวัง
ในประเทศซาอุดิราเบีย มีผู้นำเข้ากิ่งพันธุ์มาปักชำ
และเพาะเลี้ยงในประเทศไทย
5.2) ลักษณะของเพชรหน้าวัง
- เป็นไม้ใหญ่ อาจสูงถึง 5 เมตร มีกิ่งค่อนข้างอ่อน
มักสูงใหญ่ชะลูดทางสูงมากกว่าการแตกกิ่งทางด้านข้าง
- ใบมีขนาดใหญ่มาก ใบนุ่มและมีขน ปลายใบมน
- ดอกมีสีชมพูเข้ม ใส้ในกรวยดอกมีลายเส้นที่ชัดเจน
- ให้ฝักพอประมาณ ฝักมีขนาดกลาง ๆ
- ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดเจริญเติบโตเร็วมาก
และมีความหลากหลาย
5.3) เพชรหน้าวังมีการแบ่งเป็น เพชรหน้าวัง A5 และ
เพชรหน้าวัง A6 โดยมีความแตกต่างกันดังนี้
- A5 ใบกลม ต้นเตี้ย
- A6 ใบเรียวยาว ต้นสูง |
|
6) ยักษ์ดำ-สายสิงห์บุรี - Arabicum : Black Giant-Sing Buri Series (BG-SBR)
6.1) ต้นแม่เป็นไม้เพาะเมล็ด นำเข้ามาจากประเทศซาอุดิอาราเบีย
ขณะที่ต้นยังเล็ก ๆ
และนำไปปลูกที่จังหวัดสิงห์บุรี
6.2) ลักษณะของยักษ์ดำ-สายสิงห์บุรี
- ลำต้นมีสีดำ ลำต้นแข็งแรงและขึ้นเป็นแท่ง ข้อถี่ ตาตามลำต้นมีสีขาว
จึงเห็นเป็นสีดำสลับขาว ตลอดทั้งต้น
- ใบรี ปลายใบแหลม มักมีเส้นสีแดงกลางใบ
- ดอกสีชมพูอ่อน ดอกมีขนาดเล็ก ออกดอกดก
- เป็นไม้ขนาดกลาง การเจริญเติบโตขยายทั้งด้านสูงและด้านข้างพอๆ
กัน โขดมีขนาดประมาณ 80 เซนติเมตร สูงประมาณ 1.5-2 เมตร
- ตามธรรมชาติให้ฝักพอประมาณ ฝักและเมล็ดมีขนาดกลางๆ
- ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีลักษณะที่ดี และมักดำกว่าต้นแม่ |
|
7) ยักษ์ดำ - สายโคราช - Arabicum : Black Giant - Korat Series (BG-KR)
7.1) ลักษณะของยักษ์ดำ-สายโคราช
- โขด ลำต้น กิ่ง มีสีน้ำตาล - ดำ หรือน้ำตาลม่วง
โขดและกิ่งจะโตเร็วข้างลำต้นจะมีตาเป็นปุ่ม มีความสูง1-2เมตร
- ใบมีสีเขียว มีขนขึ้นใต้ใบ ใบนิ่มอ่อน เส้นกลางใบมีสีน้ำตาล
ปลายมน ถ้าเลี้ยงอย่าสมบูรณ์ใบจะมีขนาดยาวขนนุ่ม
- ดอก จะมีสีชมพูออกขาว กลีบดอกแยกออกจากกัน
ออกดอกตั้งแต่โคนกิ่งถึงปลายยอด แต่ไม่มาก
หรือออกดอกบริเวณปลายยอด สุดของกิ่งฝักจะมีขนาดใหญ่
สีน้ำตาลอมแดงยาวประมาณ 10-15 ซ.ม.
ที่ปลายฝักจะงอเล็กน้อยมีสองแฉก
- ยักษ์ดำเลี้ยงง่าย โตเร็ว โขดและลำต้นมีสีผิวสวยเมื่อถูกแสง
จะมีสีนวลสวย |
|
8) ยักษ์หลวงพ่อโต - Arabicum : Luang Por Dho (LPD)
8.1) ลักษณะของยักษ์หลวงพ่อโต
- โขด ลำต้น กิ่ง มีสีขาวอมน้ำตาล
- ใบมีสีเขียวและใบมัน ปลายใบแหลม
- ดอก จะมีสีชมพู ดอกดกพอประมาณ
- ฝักและเมล็ดมีขนาดใหญ่
- ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดเจริญเติบโตเร็วมาก
และมีความหลากหลาย |
|
9) ยักษ์ราชบุรี - Arabicum : Ratchaburi (RBR)
9.1) ลักษณะของยักษ์ราชบุรี
- มีลักษณะทั่วไปคล้ายเพชรหน้าวัง A6
- ฝักมีขนาดใหญ่ เมล็ดมีลักษณะยาวพิเศษ
- ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดเจริญเติบโตเร็วมาก
และมีความหลากหลาย |
|
10) ยักษ์องครักษ์ - Arabicum : Ong Ka Rak (OKR)
10.1) ลักษณะของยักษ์องครักษ์
- มีลักษณะทั่วไปเป็นยักษ์ซาอุใบกลม ใบมีขน ลักษณะใบคล้าย ไทโซโค - เอสวัน
- ให้ฝักยากมาก แม้ผสมเกษรด้วยมือก็ไม่ค่อยติดฝัก ดังนั้นจึงมึเมล็ดจำนวนน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย
ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดจึงมีน้อยมาก
- ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีลักษณะที่สวยงาม คล้ายไม้กลุ่มไทยโซโคทรานั่มมาก
หรืออาจเรียกว่าไทยโซโคใบขนก็ได้ |
ยักษ์ซาอุหรือยักษ์อาหรับ (Arabicum : Yak-Saudi)
ปัจจุบันมักเรียกสั้น ๆ ว่า Arabicum ในความเป็นจริงคำว่า Arabicum เป็นการบ่งบอกถึงแหล่งที่มาของไม้ คือมาจากคามสมุทรอาหรับ ไม้ที่นำมาจากคามสมุทรอาหรับมาเพาะเลี้ยงในประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็นสามประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1. ยักษ์ซาอุ (Arabicum - Yak-Saudi) ซึ่งมักเรียกกันสั้น ๆ ว่า อะราบิคั่ม (Arabicum) จัดว่าเป็นยักษ์ใหญ่อย่างแท้จริง
ในอดีตที่ผ่านมาต้นยิ่งใหญ่ ยิ่งสง่างาม ยิ่งมีราคา ภายหลังมีผู้พัฒนาสายพันธุ์ให้มีลักษณะต้นเล็กลง
เป็น อาราบิคั่มทรงคอมแพ็ค (Arabicum Compact) ลักษณะใบมีทั้งใบมันและใบขน
2. ราชินีพันดอก (Arabicum - RCN) เป็นยักษ์ทรงพุ่มขนาดกลาง ใบมัน ใบเล็ก
3. ไทยโซโคทรานั่ม (Arabicum - Thai-Socotranum) ซึ่งมักเรียกสั้น ๆ ว่า ไทยโซโค (Thai Soco) เป็นยักษ์เตี้ย ใบมัน
ยักษ์ซาอุเป็นยักษ์ใหญ่ ราชินีพันดอกเป็นยักษ์ทรงพุ่มขนาดกลาง ส่วนไทยโซโคเป็นยักษ์เตี้ย ไม้ทั้งสามตัวมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันดอกสีชมพูเล็ก ๆ แตกต่างกันที่ทรงต้น
แปลงกิ่งแม่พันธ์ยักษ์ซาอุสายพันธ์ต่าง ๆ
ปัจจุบันนี้โดยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีการแบ่งแยกยักษ์ซาอุ (Arabicum : Yak-Saudi) เป็นสายพันธุ์ต่าง ๆ แล้ว มักผลิตรวมกันหมดโดยไม่มีการแบ่งแยกสายพันธุ์ แต่ไพสิฐฟาร์มยังเป็นนักสะสมสายพันธุ์ และมีการผลิตแบบแบ่งแยกสายพันธุ์อย่างชัดเจน ทั้งเมล็ดและต้นกล้า โดยกิ่งแม่พันธุ์ที่ใช้ในการผลิตเมล็ด ใช้กิ่งแม่พันธุ์ดั้งเดิม (Original)
|
|